รวม Tips เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า

รวม Tips เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า

     ลักษณะของการเชื่อมนั้นเกิดจากความร้อนจากไฟฟ้าส่งกระแสอาร์คกันจนเกิดความร้อน จนทำให้โลหะงานและลวดเชื่อม อยู่ในสภาวะหลอมเหลวซึ่งจะมีอุณหภูมิในช่วงอาร์คอยู่ที่ช่วง 6,000 ฟาเรนไฮต์  – 9,000 ฟาเรนไฮต์ ( 3,315 องศาเซลเซียส – 4,982 องศาเซลเซียส )

ซึ่งการทำให้กระแสไฟฟ้าเกิดเป็นพลังงานมีอยู่ 2 แบบ คือ

    1. แบบความต้านทาน (Resistance welding)

    2. แบบอาร์ค (Arc welding)

        – กระแสไฟฟ้าผ่านช่องว่างในบรรยากาศของแก๊สจากตัวนำไฟฟ้า

ตัวหนึ่งไปยังตัวนำไฟฟ้าอีกตัวหนึ่ง เรียกว่า “อาร์ค”

       – มีความร้อนประมาณ 10,000 –12,000 องศาฟาเรนไฮด์

บริเวณอาร์คสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 บริเวณ ได้แก่

     – แคโทด (Cathode)

     – แอโนด (Anode)

    – ลำอาร์ค (Arc Plasma)

ซึ่งการเชื่อมไฟฟ้าให้ได้รอยเชื่อมที่มีความแข็งแรง และแนวเชื่อมที่สมบูรณ์จะต้องมี เทคนิคในการทำงาน คือ

    1. ตั้งมุมลวดเชื่อม   ในขณะเชื่อมมุมลวดเชื่อมจะต้องตั้งให้ได้มุมที่เหมาะสมโดย มีมุมหน้าลวดเชื่อมกับมุมทางด้านข้าง ประโยชน์ของมุมลวดนี้ก็เพื่อป้องกันและบังคับสแล็กที่เกิดจากฟลักซ์ให้วิ่งตามรอยเชื่อมและอลุมรอยเชื่อมไว้ไม่ให้อากาศเข้าไปผสมกับรอยเชื่อมได้

     – มุมหน้าลวดเชื่อมขณะทำการเชื่อมมุมนี้ควร ตั้งให้ได้ 70-80 องศาโดยสมํ่าเสมอ

    – มุมด้านข้าง เมื่อเดินลวดแนวเชื่อมแนวเดียว มุมด้านข้างควรจะ ตั้งให้ได้ 90 องศาตลอดเวลา

    – มุมด้านข้าง กรณีที่เชื่อมพอกหรือเชื่อมทับแนวกันหลาย ๆ แนว มุมนี้ควรตั้งมุมลวด ประมาณ 45 ถึง 60 องศา

2. การเริ่มจุดอาร์ค  เริ่มโดยนำลวดเชื่อมจี้ที่ชิ้นงานให้อาร์กเป็นประกายก่อนจากนั้นทำตามนี้

    – ยกให้สูงเพื่อปรับระยะอาร์ก

    – ระยะอาร์ก คือ ระยะที่ใช้เชื่อมชิ้นงาน เพื่อให้การหลอมละลายของลวดเชื่อมกับชิ้นงานติดดี ระยะอาร์กที่เหมาะสมจะห่างเท่ากับแกนลวดเชื่อม เช่น ลวด 0 3.25 มม. ระยะ อาร์กคือ 3.25 มม.

3. งานป้อนลวดเชื่อม   ระหว่างการอาร์ก ลวดเชื่อมจะละลายประสานแนวเชื่อมทีละน้อย ให้ป้อนลวดเชื่อมลงหาชิ้นงาน โดยรักษาระยะอาร์กคงที่มุมด้านข้าง ยังต้องรักษาไวให้ได้ 90°

4. การต่อแนวลวดเชื่อม   งานเชื่อมจะต้องมีแนวต่องาน เช่น เมื่อเชื่อมไปแล้วหมดลวด หรือหยุดพักก่อนการต่อแนว ต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อยโดยแปรงลวดก่อน วิธีต่อให้เริ่มจากจุดนอกของรอยเชื่อม เมื่อจุดอาร์กแล้วจึงเดินตามแนวเชื่อม

ซึ่งแต่ละงานเชื่อมก็จะมีการเชื่อมในลักษณะต่างๆดังนี้

1. ท่าเชื่อมราบ ท่าเชื่อมราบเป็นการเชื่อมเมื่อชิ้นงานวางอยู่ล่างลวดเชื่อมขณะเชื่อมอยู่ข้างบน การเชื่อมท่าราบอาจเป็นงานต่อชน เชื่อมมุมหรือเชื่อมฉาก เป็นต้น

2. ท่าเชื่อมขึ้นและเชื่อมลง ท่าเชื่อมขึ้น คือ การเชื่อมเดินลวดเชื่อมขึ้น บนชิ้นงานที่ตั้งฉากกับแนวระดับชิ้นงานอาจจะต่อชนหรือต่อเป็นมุมฉาก ส่วนท่าเชื่อมลง เป็นการเชื่อมโดยเดินลวดจากด้านบนลงด้านล่าง

3. ท่าเชื่อมขนานนอน  ท่าเชื่อมขนานนอนเป็นการเชื่อมโดยเดินลวดเชื่อมในแนวระดับนอน

4. ท่าเชื่อมเหนือศีรษะ  ท่าเชื่อมเหนือศีรษะเป็นการเชื่อมที่รอยเชื่อมอยู่สูงและเชื่อมทางด้านล่างของงาน

      งานเชื่อมนั้นนอกจากฝีมือและประสบการณ์ของผู้เชื่อมแล้ว การเลือกตู้เชื่อมก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เราเลยมีเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์มานำเสนอกันในบทความนี้  เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ NORVAX MMA-1B  มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟ ใช้งานได้ต่อเนื่อง ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก เริ่มกระแสเชื่อมด้วยความถี่สูง ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งหากคุณกำลังมองหาเครื่องเชื่อมติดบ้านไว้ซักตัวและต้องการสอบถามข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ สามารถสอบถามได้ตามช่องทางด้านล่างนี้ได้เลย


............................................................

EuroVent - Expertise in Fan & Blower

_

follow us

        

ข่าวสารอื่นๆ